วัตถุประสงค์

บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

รางวัลสูงสุดของคนคณิตศาสตร์ ตอนที่ 2

              รางวัลนี้ไม่เหมือนกับรางวัลโนเบลเสียทีเดียว ออกจะยากกว่ารางวัลโนเบลเสียด้วยซ้ำ ในแง่ที่ว่าเหรียญฟิลด์สจะให้ทุกสี่ปี (และบังเอิญตรงกับปีฟุตบอลโลกเสียด้วย ยกเว้นเพียงครั้งแรกในปี 2479) โดยจำกัดผู้รับรางวัลไม่เกินสี่คน ในขณะที่รางวัลโนเบลจัดทุกปีและแต่ละสาขาอาจจะได้หลายคน
         อีกอย่าง ถ้านักคณิตศาสตร์คนไหนอายุเกินสี่สิบปีแล้ว หมดสิทธิทันทีที่จะได้รับรางวัล ตามเจตนาของคุณฟิลด์ส ที่นอกจากจะให้เป็นรางวัลแก่ผลงานที่ผ่านมา ยังเป็นขวัญ กำลังใจต่อการทำงานในอนาคต
         เงินรางวัลที่ให้เป็นจำนวนประมาณสี่แสนบาทต่อคน เทียบไม่ได้กับรางวัลโนเบลประมาณสี่สิบล้านบาทต่อสาขา ดังนั้นถ้าจะเทียบเคียงเหรียญฟิลด์สกับรางวัลโนเบลก็ต้องอย่าพูดถึงเรื่องเงิน!
         พิธีมอบเหรียญฟิลด์ครั้งแรก มีขึ้นในปี 2479 แต่ต้องเว้นช่วงถึงปีพ.ศ. 2493 และจัดทุกสี่ปีตั้งแต่นั้น สำหรับรายชื่อผู้ได้รับรางวัลและผลงานสามารถหาอ่านได้ใน http://www.liv.ac.uk/~mp0u8024/maths/fields.htm

         ผู้ได้รับรางวัลนี้ปีล่าสุด ปี 2002 ได้แก่ 2 ท่านข้างล้างนี้


                                                  
Laurent Lafforgue 


Vladimir Voevodsky

              มีเรื่องเล่าว่าผู้ได้รับรางวัลคนแรกคือคุณลารส์ แวเลอเรียน อัลฟอรส์ (Lars Valerian Ahlfors) ชาวฟินแลนด์ (ถ้าแปลชื่อท่านเป็นไทยเพี้ยนไป ต้องขออภัยอีกแล้วครับ) เคยใช้ประโยชน์จากเหรียญฟิลด์สที่มีทองคำผสมอยู่ เอาไปแลกเป็นเงิน!?! เรื่องมีว่าในสงครามโลกที่สอง ท่านถูกปล่อยออกจากฟินแลนด์โดยอนุญาตให้มีเงินติดตัวเพียงน้อยนิด โชคดีที่ท่านลักลอบเอาเหรียญฟิลด์สมาได้ และแลกเป็นเงินเดินทางไปหาภรรยาของท่านที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ แต่เรื่องนี้จบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง เพราะท่านรอดภัยสงคราม พบภรรยา และเพื่อนชาวสวิสของท่านได้ไถ่เหรียญคืนมาให้ท่านในท้ายที่สุด 

                        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น